วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

อาณาจักรฟังไจ

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา เรียกรวม ๆ ว่า กลุ่มโปรติสต์
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา คือ
เป็นเซลล์แบบ Eukaryotic Cell
ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว หรือมีหลายเซลล์ ไม่มีการจัดตัวเป็นเนื้อเยื่อ
มีลักษณะของทั้งพืช และสัตว์ คือ มีคลอโรฟิลล์เช่นเดียวกับพืช และมีโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ เช่นเดียวกับสัตว์

อาณาจักรโปรติสตา แบ่งได้เป็น 1 ไฟลัมและ 8 ดิวิชัน  คือ

โปรโตซัวชนิดต่าง ๆ ที่มา http://www.geocities.com/sumpan2000_th/unit_3/sa_1/protista/Protozoa.gif
โปรโตซัว เป็นโปรติสต์เซลล์เดียวที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ ในตอนแรกจึงถูกจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. เป็นเซลล์เดียวบางชนิดเป็นเซลล์อยู่เดี่ยว ๆ บางชนิดรวมกันเป็นกลุ่ม (colony) มีขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
2. ไม่มีอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใด ๆ มีออร์กาแนลทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเซลล์
3. มีเซลล์เมมเบรนเป็นกรอบของเซลล์บางชนิดมีโครงแข็งหุ้มเป็นสารพวกเซลลูโลส หรือเจลาติน
4. ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว โดยคอนแทรกไทล์ แวคิวโอล นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ด้วย จึงเรียกคอนแทรไทล์ของโปรโตซัวว่าเป็น ออสโมเรกูเลเดอร์ (osmoregulator)
5. การดำรงชีวิตมีทั้งที่หากินเป็นอิสระในน้ำเน่า เช่น อะมีบา สังเคราะห์ด้วยแสง สร้าง อาหารได้เอง เช่น ยูกลีนา เป็นปรสิต เช่น เชื้อไข้จับสั่น
6. การสืบพันธุ์ ตามปกติจะสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ คือการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ คือการเข้าจับคู่กันหรือการคอนจูเกชัน (conjugation)
7. การเข้าเกราะ (encystment) พบในโปรโตซัวหลายชนิด เช่นยูกลีนา จะเข้าเกราะเมื่อ สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
8. รูปร่างมีหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่ ยาวรี หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน
9. อวัยวะเคลื่อนที่ของโปรโตซัวในแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกัน ซึ่งจะนำมาใช้ในการแบ่ง หมวดหมู่ระดับคลาส เช่น มีแฟลกเจลลา ซีเลีย เป็นต้น

ไฟลัมโปรโตซัว แบ่งออกเป็น 4 คลาส คือ
คลาสแฟลกเจลลาตา (Class Flagellata) เคลื่อนที่โดยใช้แฟลกเจลลัม ซึ่งอาจมีมากกว่า 1เส้น มีทั้งพวกที่ดำรงชีวิตเป็นอิสระและเป็นปรสิต อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม พวกที่เป็นปรสิต ได้แก่ พวกที่ทำให้เกิดเป็นโรคเหงาหลับคือ ทริปาโนโซมา (Trypanosoma)
ลาสซาโคดินา (Class Sarcodina) เคลื่อนที่โดยใช้เท้าเทียมหรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) ซึ่งเกิดจากการไหลของไซโตพลาสซึม มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เช่น อมีบา (ameba) ซึ่งเป็นปรสิตทำให้เกิดโรคบิดหรือทำให้ท้องร่วง
คลาสซีเลียตา (Class Ciliata) เคลื่อนที่โดยใช้ซิเลีย (cilia) มีทั้งที่ดำรงชีพอย่างอิสระและเป็นปรสิต
โดยทั่วไปมีนิวเคลียส 2 ขนาด  คือนิวเคลียสขนาดใหญ่  เรียกว่า มาโครนิวเคลียส (Macronucleus)
นิวเคลียสขนาดเล็กเรียกว่า ไมโครนิวเคลียส ( Micronucleus)  เช่น พารามีเซียม ( Paramicium )
คลาสสปอโรซัว (Class Sporozoa) พวกนี้ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการเคลื่อนที่  ดำรงชีวิตเป็นปรสิต  สืบพันธุ์โดยการสร้างสปอร์  และรวมตัวกันคล้ายการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  เช่น พลาสโมเดียม (Plasmodium)  ซึ่งเป็นเชื้อมาเลเรีย

พลาสโมเดียม ที่มา http://student.nu.ac.th/Malaria/45.gif

ดิวิชัน คลอโรไฟตา (Division Chlorophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีเขียวจัดเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด พบทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย บางชนิดลอยตามผิวน้ำ บางชนิดเกาะกับ พืชอื่นหรือก้อนหิน บางชนิดอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ในโปรโตซัว ไฮดรา หรือฟองน้ำ ในแหล่งน้ำธรรมชาติ บางครั้งจะพบว่าน้ำมีสีเขียวเข้ม เกิดขึ้น สีเขียวดังกล่าวคือ สาหร่ายในกลุ่มนี้เป็นส่วนใหญ่

สาหร่ายสีเขียวชนิดต่าง ๆ ที่มา http://content.answers.com/main/content/wp/en-commons/thumb/a/a6/240px-Haeckel_Siphoneae.jpg
ดิวิชัน ยูกลีโนไฟตา (Division Euglenophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีอยู่ 2 พวกคือ พวกที่สังเคราะห์ อาหารเองได้ และพวกที่สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างเป็นเซลล์เดียว เคลื่อนที่ได้ มีลักษณะคล้ายโปรโตซัว  เรียกสิ่งมีชีวิตในดิวิชันนี้ ว่า ยูกลีนา

ยูกลีนาชนิดต่าง ๆ
ที่มา http://www.scielo.br/img/fbpe/rbb/v22n2/n2a1f1.gif
ดิวิชัน แคโรไฟตา (Division Charophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้พบมากในบ่อน้ำจืดในทะเลสาบ หรือแหล่งน้ำที่มีหินปูนละลายอยู่ สาหร่ายในกลุ่มนี้จะ มีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงมาก เช่น มีส่วนที่ทำหน้าที่ คล้ายลำต้น ใบ และราก

สาหร่ายในดิวิชันแคโรไฟตา ที่มา http://www.biologie.uni-rostock.de/oekologie/IG_characeen/photos/Chara_baltica.jpg
ดิวิชัน ฟีโอไฟตา (Division Phaeophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีน้ำตาล เนื่องจากภายในเซลล์ของสาหร่ายกลุ่มนี้มี รงควัตถุพวก ฟูโคแซนทิน(fucoxanthin) ที่ทำให้เกิดสีน้ำตาลมากกว่ารงควัตถุอื่น สาหร่ายในกลุ่มนี้มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมาก คือ บางชนิด ใช้เป็นอาหารโดยตรง ซึ่งนิยมรับประทานกันในยุโรป บางชนิดนำมาสกัดสารประกอบพวกแอลจิน (algin) เพื่อใช้ทำสี ทำยา และขนมหวานบางชนิด

สาหร่ายสีน้ำตาล ที่มา http://www.botany.hawaii.edu/faculty/webb/BOT311/Phaeophyta/DurvillaeaMan.jpg
ดิวิชัน คริสโซไฟตา (Division Chrysophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีรงควัตถุฟูโคแซนทิน เหมือนสาหร่ายสีน้ำตาล แต่มีในปริมาณน้อยกว่า แบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ คือ สาหร่ายสีเขียวแกมเหลือง สีน้ำตาลแกมเหลือง และไดอะตอม กลุ่มที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากคือ ไดอะตอม เนื่องจากการตาย ทับถม กันของพวกไดอะตอมเป็น เวลานาน จนกลายเป็นไดอะตอมมาเชียส เอิร์ท (diatomaceous earth) ซึ่งมีประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น ยาขัดเครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง ใช้ในการฟอกสี และเป็นฉนวน

ไดอะตอมชนิดต่าง ๆ ที่มา http://www.eou.edu/~kantell/img1023.jpg
ดิวิชัน ไพร์โรไฟตา (Division Pyrrophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์เดียว พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ในทะเลบางครั้งจะเกิดปรากฏการณ์ น้ำทะเลเปลี่ยนสี ส่วนใหญ่ จะเกิดจาก สาหร่ายในกลุ่มนี้เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ (water boom) ซึ่งชาวทะเลเรียกว่า ขี้ปลาวาฬ

สาหร่ายในดิวิชันไพร์โรไฟตา ที่มา http://www.ufrrj.br/institutos/it/de/acidentes/fito.gif
ดิวิชัน โรโดไฟตา (Division Rhodophyta) สาหร่ายในกลุ่มนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สาหร่ายสีแดง มีประโยชน์ต่อมนุษย์เช่นเดียวกับสาหร่ายสีน้ำตาล เนื่องจากสารเมือกที่สกัดออกจาก ผนังเซลล์เรียกว่า คาร์แรจีแนน (carrageenan) นำมาผลิตเป็นวุ้นได้ นอกจากนี้สาหร่ายสีแดง ยังนำมาประกอบ เป็นอาหารโดยตรงที่ทุกคนรู้จักกันดีในชื่อ “จีฉ่าย”

สาหร่ายสีแดง ที่มา http://www.virtualsciencefair.org/2003/thoga3n/public_html/redalgae.gif

ดิวิชันมิกโซไมโคไฟตา ( Division Myxomycophyta) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ เป็นเมือก ข้นสีขาว สีเหลืองหรือสีส้ม อาศัยอยู่ในบริเวณชื้นเเฉะ เช่น กองไม้ผุ ตามพื้นดินร่มชื้น เช่นเดียวกับเห็ดรา ส่วนใหญ่ดำรงชีพเเบบภาวะมีการย่อยสลาย เเต่ก็มีบางชนิดเป็นปรสิต ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตได้เเก่ พวกราเมือก ( Slime mold )

ราเมือก ที่มา http://www.ucmp.berkeley.edu/protista/physarum.gif

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น