วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

อาณาจักรมอเนอรา


สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้มีโครงสร้างง่าย ๆ  ไม่ซับซ้อน  อาจมีเซลล์เดียวหรือประกอบด้วย หลายเซลล์ก็ได้แต่ยังไม่รวมเป็นเนื้อเยื่อ  เซลล์ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (Prokaryote  cell)  สารพันธุกรรมได้แก่กรดนิวคลิอิคประกอบด้วย DNA และ RNA กระจายอยู่ในไซโทพลาซึม  ไม่มีออร์แกแนลที่มีระบบเยื่อบาง ๆ  หุ้ม  ภายในเซลล์มีไรโบโซมขนาดเล็ก  ไม่มีระยะเอมบริโอ  บางชนิดสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้  แต่คลอโรฟิลล์ไม่ได้อยู่ในคลอโรพลาสต์ 
การแบ่งนิวเคลียสไม่ซับซ้อน  สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งได้เป็น 2  ดิวิชัน  ดังนี้
     1. Division  Schizophyta (ดิวิชันซิโซไฟตา) ได้แก่แบคทีเรีย
     2. Division  Cyanophyta หรือ Cyanobacteria (ไซยาโนแบคทีเรีย) ได้แก่สาหร่ายสีเขียวแกม
น้ำเงิน
ดิวิชันชิโซไฟตา (Division Schizophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

แบคทีเรีย ที่มา http://www.ucmp.berkeley.edu/bacteria/bacteriamm.html
ผนังเซลล์คล้ายร่างแห เรียกว่า mucopeptide(มิวโคเปปไทด์) หรือ glucosaminopeptide  (กลูโคซามิโนเปปไทด์) เพราะประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน
รูปร่างของแบคทีเรีย มี 3 แบบ คือ
แบบแท่งหรือท่อนทรงประบอก ได้แก่ พวกบาซิลลัส (Bacillus)

บาซิลลัส ที่มา http://www.bact.wisc.edu/themicrobialworld/Bacillus55.jpg
แบบกลมหรือรี ได้แก่ พวกคอกคัส (Coccus)
แบบโค้งงอ ได้แก่ พวกสไปริสลัม (Spirillum) เซลล์คงรูปไม่เปลี่ยนแปลง พวกสไป โรขีต (Spirochete) เซลล์ยืดหยุ่นไม่คงรูป และพวกคอมมา (Comma) เซลล์โค้งคล้ายจุดลูกน้ำ

สไปริลลัม ที่มา http://www.soilandhealth.org/01aglibrary/010112Krasil/Fig.20.jpeg

การเรียงตัวของแบคทีเรีย มีหลายแบบ เช่น
          Micrococcus : เซลล์เดี่ยว
          Diplococcus : เซลล์เรียงเป็นคู่
          Streptococcus : เซลล์เรียงต่อเป็นสาย
          Staphylococcus : เซลล์เป็นกลุ่มรูปร่างไม่แน่นอน

การเรียงตัวของแบคทีเรีย ที่มา http://student.ccbcmd.edu/courses/bio141/lecguide/unit1/shape/images/coccus.gif

แบคทีเรียแกรมบวก (Gram positive) ย้อมติดสีน้ำเงินของคริสทัลไวโอเลต (crystal violet)

แบคทีเรียแกรมบวก ที่มา http://phil.cdc.gov/phil_images/20021108/7/PHIL_2297_lores.jpg

แบคทีเรียแกรมลบ (Gram negative) ย้อมติดสีแดงของแซฟรานิน (safranin) หรือ อีโอซิน (eosin)


แบคทีเรียแกรมลบ ที่มา http://www.asm.org/Division/c/photo/gc1.JPG
แบคทีเรียบางชนิดมีรงควัตถุ เรียกว่า bacteriochlorophyll จึงไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง
แบคทีเรียสืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์แบบทวีคูณ (binary fission) ได้ทุก ๆ 20 นาที แต่หากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะสร้างเอนโดสปอร์ (endospore)

เอนโดสปอร์ของแบคทีเรีย ที่มา http://textbookofbacteriology.net/endospore.jpg
ความสำคัญของแบคทีเรีย ต่อสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ ดังนี้
      เป็นผู้ย่อยสลาย ทำให้มีการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ
      ตรึงในโตรเจนในบรรยากาศให้เป็นเกลือไนเตรตได้ เช่น Rhizobium ในปมรากพืชตระกูลถั่ว
      ผลิตสารปฏิชีวนะ (antibiotic) ใช้รักษาโรคได้
      ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ในมนุษย์

ดิวิชันไซแอโนไฟตา (Division Cyanophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้


สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดต่าง ๆ ที่มา http://www.fao.org/docrep/X0086E/X0086E0D.JPG
ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ บางชนิดเป็นสายยาวมีเมือกใสหุ้มไม่มีคลอโรพลาสต์ แต่มีรงควัตถุ พวกคลอโรฟิลล์เอ แซนโทฟิลล์และ c - phycocyanin (สีน้ำเงิน) กับ c - phycoerythrin (สีแดง)กระจายอยู่ในไซโทพลาซึม  รอบนอกผนังเซลล์มีพอลิแซกคาไรด์หุ้มอยู่ และมีรงควัตถุ แคโรทีนนอยด์และไฟโคบิลินทำให้มีสีต่างกัน เช่น น้ำเงิน แดง ม่วง หรือน้ำตาล สืบพันธุ์แบบ ไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งเซลล์จาก 1 เป็น 2 หรือการขาดเป็นท่อน ๆ (fragmentation)
ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมจะสร้าง อะคีนิท (akinete) ซึ่งมีผนังหนาและมีอาหารสะสมในเซลล์มาก

อะคีนิท (ตรงบริเวณที่ลูกศรชี้)
ตัวอย่างเช่น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน บางชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนได้ : นอสตอก (Noatoc)
แอนาบีนา (Anabaena)เป็นต้น บางชนิดเป็นแหล่งอาหารโปรตีน : สาหร่ายเกลียวทอง (Spirulina)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น