วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

   ทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุล(molecular orbital theory ; MO theory )                ทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุลป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายว่าทั้งโมเลกุลและอะตอม ต่างก็มีออร์บิทัลซึ่งเป็นที่ที่อิเล็กตรอนสามารถเข้ามาอยู่
     ได้ โดยแต่ละออร์บิทัลมีพลังงานต่างกันไป หลักการสำคัญของทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุลจะมองว่าอิเล็กตรอนในออร์บิทัลโมเลกุลไม่ได้
     อยู่ประจำที่ ( delocalized electrons ) แต่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ทั่วทั้งโมเลกุล

                          ถ้าเป็นออร์บิทัลของ อะตอม    เรียกว่า  ออร์บิทัลอะตอม
                                ถ้าเป็นออร์บิทัลของ โมเลกุล
  เรียกว่า  ออร์บิทัลโมเลกุล
ข้อด ีของทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุลสามารถทำนายการเกิดเป็นโมเลกุล สมบัติทางแม่เหล็ก และให้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะเร้าของโมเลกุล

การซ้อนเหลื่อมกันของออร์บิทัลอะตอม ทำให้เกิดออร์บิทัลโมเลกุลซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1. ออร์บิทัลโมเลกุลแบบสร้างพันธะ (bonding molecular orbital ; BMO) การเกิดออร์บิทัลโมเลกุลแบบนี้จะทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานลดลงนั่นคือมีความเสถียรมากขึ้น
2. ออร์บิทัลโมเลกุลแบบต้านพันธะ (anti-bonding molecular orbital ; AMO)การเกิดออร์บิทัลโมเลกุลแบบนี้จะทำให้อะตอมที่ได้มีพลังงานเพิ่มขึ้นนั่นคือมีความเสถียรน้อยลง


อันตรกิริยาของออร์บิทัลอะตอมที่ทำให้เกิด BMO และ AMO แสดงได้ดังรูป

ออร์บิทัล-s (s-orbital)

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ เรื่อง อาณาจักรพืช(Kingdom Plantac)
คำชี้แจง ให้นักเรียนประเมินตนเองโดยเลือกคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
1. สิ่งในชีวิตที่จะจัดไว้ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantac) ต้องมีลักษณะสำคัญเด่นชัดในข้อใด
มีหลายเซลล์ (multicellular) และมีคลอไรปลาสท์
มีผนังเซลล์ มีคลอไรปลาสท์ และมีวงจรชีวิตแบบสลับ (alteration of generation)
มีระยะต้นอ่อน มีคลอไรปลาสท์และมีวงจรชีวิตแบบสลับ
มีเนื้อเยื่อ มีระยะตัวอ่อน มีการสืบพันธุ์แบบใช้เพศ สลับกับแบบไม่ใช้เพศ


2. พืชจำพวกสน (pine) เหมาะสมในการนำมาใช้ในการปลูกป่า เนื่องจาก
แบคทีเรียไรโซเบียมเจริญอยู่ที่รากช่วยให้สนเติบโตเร็ว
มีราไมคอร์ไรซาเจริญอยู่ที่รากช่วยให้สนเติบโตเร็ว
มีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินช่วยจับไนโตรเจนมาเป็นสารประกอบไนเตรท ทำให้สนได้รับปุ๋ย
ปรง สน 2 ใบ
3. ถ้าพิจารณาตามสายวิวัฒนาการพืชพวกแรกที่สามารถเจริญได้บนบกคือ
ไซโลตัม
ไลโคโปเดียม
ไบรโอไฟต์
อีคิวเซตัม
  4. พืชในดิวิชั่นไบโอไฟตามีลักษณะต่างจากพืชในดิวิชั่นแอนโธไฟตาในข้อใด
ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง
ช่วงสปอไรไฟต์มีอายุยืนนานกว่าช่วงแกมีโตไฟต์
เป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่ชุ่มชื่น
ถูกทั้ง ก ข และ ค
5. ถ้าพิจารณาเฉพาะสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช ลักษณะใดเป็นลักษณะที่พบเฉพาะในมอสและลิเวอร์เวร์ต
สร้างสปอร์ภายในอับสปอร์
มีไรซอยด์ทำหน้าที่คล้ายราก
แกมีโฟต์เป็นช่วงชีวิตที่เด่น
อาศัยน้ำเป็นตัวกลางในการปฏิสนธิ
  6. แกมีโตไฟต์ของพืชพวกใดมีไรซอยด์เกาะยึดติดกับพื้นดินหรือผิววัตถุที่มันเจริญอยู่
ไบรโอไฟต์ เฟิร์น
เฟิร์น ไซโลตัม
จิมโนสเปิร์ม
ถูกเฉพาะข้อ ก และ ข
7. ปัจจัยใดที่ทำให้พืช มอส และลิเวอร์เวิร์ตมีขนาดเล็กและมักขึ้นในที่ชุมชื้น
แสงสว่าง
การคายน้ำ
ระบบลำเลียง
ความแห้งแล้ง
  8. พืชประเภทใดต่อไปนี้จะมีการสร้างสปอร์ได้ 2 ขนาด
ไลโคโปเดียม
ซีแลกจิเนลลา
ไซโลตัม
ทั้ง ก และ ค
9. Terprothallus ของเฟิร์นทำหน้าที่อะไร
สร้างสเปิร์ม
สร้างรังไข่
สร้างสปอร์
ทั้ง ก และ ข
  10. การจัดหมวดหมู่พืชแบ่งได้กี่ระบบ
1 ระบบ
2 ระบบ
3 ระบบ
4 ระบบ
คะแนน=
คำตอบที่ถูกต้อง

แบบทดสอบ

อาณาจักรสัตว์

สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบด้วยเซลล์ชนิดยูแคริโอต การจำแนกเป็นไฟลัมต่างๆใช้ลักษณะสำคัญคือ จำนวนชั้นของเนื้อเยื่อ ช่องภายในตัว ปล้องขา ลำตัว ชนิดของท่อทางเดินอาหาร สมมาตร (symmetry) ของลำตัว ชนิดของระบบไหลเวียน และการพัฒนาของระบบอื่นๆ แบ่งออกเป็นสอง ซับคิงดอม (Subkingdom) คือ ซับคิงดอมพาราซัว (Parazoa) ได้แก่ฟองน้ำและซับคิงดอมเมทาซัว (Metazoa) ได้แก่สัตว์อื่นๆที่เหลือ ซึ่งแบ่งย่อยเป็นไฟลัมต่างๆมากถึง 30 ไฟลัมในปัจจุบัน แต่ที่สำคัญมี 9 ไฟลัมคือ
1. ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera)
2. ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata)
3. ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes
4. ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda)
5. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)
6. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)
7. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda
8. ไฟลัมอีไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)

1.ไฟลัมพอริเฟอรา (Phylum Porifera) เป็นสัตว์หลายเซลล์ ไม่มีสมมาตร ลำตัวเป็นรูพรุน มีช่องน้ำเข้าและช่องน้ำออก มีโครงร่างแข็งหรือเป็นเส้นใยโปรตีน เช่น ฟองน้ำแก้ว สกุล Euplectella ฟองน้ำน้ำจืด สกุล Spongilla ฟองน้ำถูตัว สกุล Spongia

โครงสร้างของฟองน้ำ ที่มา http://www.cartage.org.lb/en/themes/Sciences/Zoology/ Biologicaldiverstity/AnimalsI/sponge_1.gif
  
ฟองน้ำน้ำจืด                                                             ฟองน้ำที่มา http://www.bwc.ac.th/petchara/Animal1.files/slide0027_image068.jpg
http://trc.ucdavis.edu/biosci10v/bis10v/week9/9webimages/porifera.jpg
2.ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylun Coelenterata) เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อสองชั้น มีสมมาตรแบบ รัศมี(radial symmetry) มีท่อทางเดินอาหาร แต่ไม่มีช่องตัว มีเซลล์ไนโดไซต์ (cnidocyte) สร้างเข็มพิษ (nematocyst) แบ่งเป็นสามชั้น(Class)
            2.1 ชั้นไฮโดรชัว (Class Hydrozoa) ได้แก่ ไฮดรา (Hydra) แมงกะพรุนไฟ (Physalia)
          2.2 ชั้นไซโฟซัว ( Class  Scyphozoa) ได้แก่ แมงกะพรุนหนัง (Aurelia) แมงกะพรุนไฟ (Chironex)
          2.3 ชั้นแอนโทซัว (Class Anthozoa) ได้แก่ ปะการัง (coral) ปะการังเขากวาง (Acrepora) กัลปังหา (sea fan)

สิ่งมีชีวิตในชั้นแอนโทซัว ที่มา http://www.ucpress.edu/books/pages/8342/images/3big.jpg
http://www.scenicoregon.com/webanic/pages/sponcor.JPG
3.ไฟลัมแพลทิเฮลมินทีส (Phylum Platyhelminthes) ได้แก่ หนอนตัวแบน มีเนื้อเยื่อสามชั้น ไม่มีช่องตัว มีสมมาตรแบบด้านข้าง (bilateralsymmetry) มีระบบย่อยอาหาร (บางชนิดไม่มี) แบ่งเป็นสามชั้น
          3.1 ชั้นเทอร์เบลลาเรีย (Class Turbellaria) ได้แก่ พลานาเรีย (Dugesia)
          3.2 ชั้นทรีมาโทดา (Class Trematoda) ได้แก่ พยาธิใบไม้ (fluke) เช่น พยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchis viverrini)
          3.3 ชั้นเซสโทดา ( Class Cestoda) ได้แก่ พยาธิตัวตืด (tape worm) เช่น พยาธิตัวตืดหมู (Taenia solium)
4.ไฟลัมเนมาโทดา (Nematoda) ได้แก่ หนอนตัวกลม มีเนื้อเยื่อสามชั้นมีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวเทียม (pseudocoet) เช่น พยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides) โรคเท้าช้าง (Brugia malayi)

พยาธิไส้เดือน ที่มา http://student.nu.ac.th/u46410346/25_nematode%5B1%5D.jpeg
5.ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) หนอนปล้อง ลำตัวแบ่งเป็นปล้องชัดเจน มีเนื้อเยื่อสามชั้น มีสมมาตรแบบด้านข้าง มีช่องตัวที่แท้จริง (coelom) มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นสามชั้น
          5.1 ชั้นโพลีคีตา (Class  Polychaeta) ได้แก่ แม่เพรียง (Nereis) หนอนฉัตร (tube worm)
 
แม่เพรียง                                              หนอนฉัตรที่มา  http://www.bwc.ac.th/PETCHARA/Animal2.files/slide0075_image061.jpg
http://www.talaythai.com/image/0594.jpg
5.2    ชั้นโอลิโกคีตา (Class  Oligochaeta) ได้แก่ ไส้เดือนดิน (Pheretima)

วงชีวิตไส้เดือนดิน ที่มา http://www.212cafe.com/freewebboard/user_board/maejo/picture/00097_1.jpg
5.3 ชั้นไฮรูดิเนีย (Class  Hirudinea) ได้แก่ ปลิง (leech) ทากดูดเลือด (landleech)
 
ทากดูดเลือด                                                       ปลิงน้ำจืดที่มา http://www.tripperclub.com/nana/pic/nana_013/tak.jpg
http://student.nu.ac.th/u46410346/34_leech%5B1%5D.jpeg
6.ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) ลำตัวนิ่มมักมีเปลือกหุ้มเนื้อเยื่อสามชั้น มีสมมาตร ด้านข้างมีช่องตัวลดรูปจนมีขนาดเล็ก มีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็นห้าชั้น
6.1 ชั้นแอมฟินิวรา (Class  Amphineura) ได้แก่ ลิ่นทะเล (chiton)

ลิ่นทะเล ที่มา http://biology.fullerton.edu/biol317/im/s02/bc/lined_chiton.jpg
6.2 ชั้นแกสโทรโพดา (Class  Gastropoda) ได้แก่ หอยกาบเดี่ยว (snail) หอยทาก (slug) ทากทะเล (nudibranch)
     
ทากทะเลชนิดต่าง ๆที่มา http://www.wahoodivingcenter.com/imgUpload/photo119_1_nudiatbali.jpg
http://www.talaythai.com/image/0287.jpg                       
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK22/pictures/s22-231-4.jpg
6.3 ชั้นแพลีไซโพดา (Class  Pelecypoda) ได้แก่ หอยกาบคู่ (bivalves) เช่น หอยแมลงภู่ (Mytilus biridis)

หอยกาบคู่ ที่มา http://www.bims.buu.ac.th/images/department/aquarium/shell2_43.jpg
6.4    ชั้นสแคโฟโพดา (Class  Scaphoposa)ได้แก่ หอยงาช้าง (tusk shell)

หอยงาช้าง ที่มา http://mangrove.nus.edu.sg/pub/seashore/photos/155.jpg
6.5 ชั้นเซฟาโลโพดา (Class Cephalopoda) ได้แก่ ปลาหมึกสาย หรือปลาหมึกยักษ์ (Octopus) ปลาหมึกกล้วย (Loligo) หอยงวงช้าง (nautilus)
 
หอยงวงช้าง                                          หมึกยักษ์ ที่มา http://cas.bellarmine.edu/tietjen/images/ng_nautilus_1.jpg
http://www.icygang.com/inbox_writer/imagemail/inbox-4864.jpg
7.ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) สัตว์ที่มีลำตัวแบ่งเป็นปล้องมีโครงร่างภายนอก หรือเปลือกปกคลุม ขาต่อเป็นข้อๆ สมมาตรแบบด้านข้างมีระบบไหลเวียนและระบบประสาท แบ่งเป็น สองซับไฟลัม คือ เคลิเซอราตา (Chelicerata) ได้แก่ แมงดาทะเล และแมงมุม และซับไฟลัมแมนดิบูลาตา (Mandibulata) เช่น กุ้ง ปู ตะขาบ กิ้งกือ แบ่งเป็นชั้นดังนี้
7.1 ไซโฟซูริดา (Class  Xiphosurida) ได้แก่ แมงดาจาน (Tachypleus gigas)
7.2 อะแร็กนิดา (Class  Arachnida) ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง
 
แมงมุมแม่ม่ายดำ                                     แมงป่องทะเลทรายที่มา http://www.echoroukonline.com/english/images/news/2007/spider.jpg
http://www.earthtimes.org/newsimage/brain_tumors_2976.jpg
7.3 ครัสเตเชีย (Class Crustacea) ได้แก่ กุ้ง กั้ง ปู เพรียงหิน

กุ้งตัวตลกที่มา http://www.nfe.go.th/waghor/exhibition/image/invo1.JPG
7.4 ไคโลโพดา (Class  Chilopida) ได้แก่ ตะขาบ
7.5 ไดโพลโพดา (Class Diplopoda) ได้แก่ กิ้งกือ
7.6 อินเซกตา ( Class  Insecta) ได้แก่ แมลงต่างๆ

แมลงชนิดต่าง ๆ ที่มา http://waddell.ci.manchester.ct.us/nature-center/images/insects/1999us_insects.jpg
8. ไฟลัมอีไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata) เป็นสัตว์ทะเลทั้งหมด ผิวหนังมีหนาม ตัวอ่อนมีสมมาตรด้านข้าง ตัวเต็มวัยมีสมมาตรรัศมีมีระบบน้ำใช้ในการเคลื่อนที่ มีระบบไหลเวียน ระบบประสาท และระบบท่อทางเดินอาหาร จำแนกเป็นห้าชั้น
8.1 ชั้นแอสเทอรอยเดีย (Class Asteroidea) ได้แก่ ปลาดาว หรือดาวทะเล (star fish)
8.2 ชั้นโอฟิยูรอยเดีย (Class  Ophiuroidea) เช่น ดาวเปราะ (brittle star)

ดาวเปราะ ที่มา http://www.greenworld.or.th/beach/AboutBeach/pic/D10.jpg
8.3 ชั้นอีคิยูรอยเดีย (Class Echiuroidea) เช่น เม่นทะเล (sea urchin) เหรียญทราย (sand dollar)

เหรียญทราย
ที่มา http://www.follybeach.com/sand-dollar-live.jpg
8.4 ชั้นโฮโลทูรอยเดีย (Class Holothuroidea) เช่น ปลิงทะเล (sea cucumber)

ปลิงทะเล ที่มา http://www.talaythai.com/image/0267.jpg
8.5 ไคนอยเดีย (Class  Crinoidea) เช่น ดาวขนนก (feather star) พลับพลึงทะเล (sea lilly)
 
ดาวขนนก                       พลับพลึงทะเลที่มา http://www.talaythai.com/image/0119.jpg
http://sciencenow.sciencemag.org/feature/science_shots/images/ss_20051017_1.jpg
9. ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata) สัตว์มีกระดูกสันหลัง มีสมมาตรด้านข้าง มีช่องตัวอย่างแท้จริง มีระบบต่างๆพัฒนาสูงสุด จำแนกเป็นสามซับไฟลัมคือ
9.1 ซับไฟลัมยูโรคอร์ดาตา (Subphhylum Urochordata) ได้แก่ เพรียงหัวหอม (tunicate)

เพรียงหัวหอม ที่มา  http://wwwchem.uwimona.edu.jm:1104/gifs/tunicate.jpg
9.2 ซับไฟลัมเซฟาโลคอร์ดาตา (Subphylum Cephalochordata) ได้แก่ แอมฟิออกซัส (Amphioxus)
9.3 ซับไฟลัมเวอร์ทีบราตา (Vertebrata) ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด จำแนก เป็นชั้นดังนี้
      9.3.1 ชั้นแอ็กนาทา (Class Agnatha) ได้แก่ ปลาปากกลม (cyclostome)
 
ปลาปากกลมและลักษณะปากของปลาปากกลม (lamprey)ที่มา http://www.english-nature.org.uk/lifeinukrivers/species/species_images/lamprey5.jpg
http://planet.uwc.ac.za/nisl/Biodiversity/LOE/images/pic122.jpg
     9.3.2 ชั้นคอนดริกไทอีส (Class Chomdrichthyes) ได้แก่ ปลากระดูกอ่อน เช่น ปลาฉลาม ปลาฉนาก ปลากระเบน
 
ปลาฉนาก                                                                 ปลาโรนินที่มา http://www.school.net.th/library/webcontest2003/100team/dlnes141/t5/pristis.jpg
http://img128.imageshack.us/img128/5746/1368ku7.jpg
     9.3.3 ชั้นออสทีอิกไทอีส (Class Osteichthyes) ได้แก่ ปลากระดูกแข็ง เช่น ปลากะพง ปลาช่อน ปลาหมอเทศ

ปลาโมลาร์หรือปลาพระอาทิตย์ ที่มา http://www.wahoodivingcenter.com/imgUpload/24122006221623_mola-mola4.gif
     9.3.4 ชั้นแอมฟิเบีย (Class Amphibia) สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ได้แก่ กบ คางคก เขียด ซาลาแมนเดอร์

กระท่าง เป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดเดียวที่พบในประเทศไทย บริเวณดอยอินทนนท์ ที่มา  http://www.ninekaow.com/wbs/pictures/02/1138714345.jpg
     9.3.5 ชั้นแรปทิเลีย (Class Reptilia) สัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ เต่า ตะพาบน้ำ แย้ ตะกวด จิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้

ตะพาบม่านลาย ที่มา http://www.zoothailand.org/animals/images/439_001.jpg
     9.3.6 ชั้นเอวีส (Class Aves) ได้แก่ นกชนิดต่างๆ เป็ด ไก่

นกปักษาสวรรค์ ที่มา  http://pages.prodigy.net/profgary/_uimages/Blue-Bird-of-Paradise.jpg
      9.3.7 ชั้นแมมมาเลีย (Class Mammalia) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ แพลทิปัส ปากเป็ด (duck-billed platypus) สัตว์มีถุงหน้าท้อง (marsupials) เช่น จิงโจ้ โอพอสซัม แทสมาเนียนเดวิล สัตว์มีรก (placenta) เช่น กระรอก กระต่าย วัว  ควาย ช้าง แรด ลิง คน
 
แทสมาเนียนเดวิล                                                แพนด้าแดงที่มา http://nightskypictures.com/Antarctica/Devil.jpg

นักวิทยาศาสตร์พบว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีก 2 ชนิด คือ ไวรัส (Virus) กับไวรอยด์ (viroid) มีลักษณะแตกต่าง จากพวกโพรคาริโอตและยูคาริโอต กล่าวคือ โครงสร้างยังไม่เป็นเซลล์ ไม่มีทั้งเยื่อหุ้มเซลล์และ ไซโทพลาซึม เป็นพียงอนุภาค (virion) ที่ประกอบด้วยDNA หรือ RNA และโปรตีนเท่านั้น  นักวิทยาศาสตร์บางคนจัดให้อยู่ในอาณาจักรไวรา
ไวรัสประกอบด้วย DNA หรือ RNA ที่มีโปรตีน (capsid) ห่อหุ้มและมีเอนไซม์สำหรับใช้ในเมแทบอลิซึม ส่วนไวรอยด์มีเฉพาะRNA ที่ไม่มีโปรตีนหุ้มและไม่มีเอนไซม์เลย
โรคบางชนิดที่เกิดจากไวรัส ได้แก่
     ไข้เลือดออก
     ไข้หวัดใหญ่
     ไข้หวัด
     โรคตับอักเสบชนิดบี
     โรคเอดส์ Arbovirus
     Orthomyxovirus
     Picornavirus
     Hepatitis B Virus
     Human Immunodeficiency Virus

เชื้อไวรัส HIVที่มา http://www.aidsactioncoalition.org/images/hiv_virus.gif